มนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
e-mail : ma_nasc@msn.com / mobile: 08-7915-4236
มนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
...ยินดีต้อนรับท่านสู่...สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ด้วยความยินดียิ่ง...
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
12 สิงหา 2554
นายธำรง เขมะรัตน์ นายอำเภอพรหมคีรี
นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี
นายธำรง เขมะรัตน์ นายอำเภอพรหมคีรี มอบวุฒิบัตร ให้นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี
นายแพทย์ศักรินทร์ สมศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพรหมคีรี ร่วมถวายพระพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
...ยินดีต้อนรับท่านสู่...สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี....จังหวัดนครศรีธรรมราช....ด้วยความยินดียิ่ง........
เกี่ยวกับฉัน
มนัส ชุมทอง
คำปฏิญาณ "เราคนไทย ต้องรู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราคนไทย ต้องปฏิบัติตน อยู่ในกรอบของกฏหมาย และยึดหลักความสงบ ความสันติ และรู้รัก สามัคคี เราคนไทย ต้องปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยชีวิต
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5 ประการ
1. กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
2. ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
3. โปร่งใสตรวจสอบได้
4. ไม่เลือกปฏิบัติ
5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์
๑. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
๒. ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
๓. ให้บริการด้วยความเสมอภาค
๔. มีความมุ่งมั่นในผลสำเร็จของงาน
๕. ยึดมั่นในหลักคุณธรรม
๖. ดำรงชีพอย่างเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดี
๗. รักษาชื่อเสียงของกรมปศุสัตว์
ทำเนียบปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี
นายสุเทพ ยอดแก้ว ปี 2522 -ปี 2532
นายมนตรี พลวิชัย ปี 2532-ปี 2539
นายพงศ์เทพ รัตนวงศ์ ปี 2539 -ปี 2545
ปี 2545 - ปี 2547 รัฐบาลยุบสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทั่วประเทศ
นายมนัส ชุมทอง(ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปศุสัตว์อำเภอ)ปี 2547 -ปี 2549
นายมนัส ชุมทอง 24 พ.ย.49 - ปัจุจบัน
โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี
Best practice
การปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น
การใช้วัคซีนในสัตว์
ความรู้รอบตัว
ประวัติการรับราชการ
สมุนไพรที่ใช้เลี้ยงสัตว์
อาสาปศุสัตว์อำเภอพรหคีรี
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
โครงการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและการจัดการที่ลดความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกฯ
โครงการยุทธศาสตร์จังหวัด
โครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้ ฯ
โครงการโรคพิษสุนัขบ้า
โครงการโรคไข้หวัดนก
โรคสัตว์แปลกถิ่น
โรคใข้หวัดหมู
เว็บไซ้ต์หน่วยงานกรมปศุสัตว์
กรมปศุสัตว์
กองบำรุงพันธุ์สัตว์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้
สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครคศรีธรรมราช
เว็บไซต์ มนัส ชุมทอง
blogspot มนัส สำรอง
multiply ภักดี ศรีเมือง
multiply มนัส
บุคคลเด่น....
เว็บไซต์อำเภอพรหมคีรี
นายอำเภอพรหมคีรี
นายอำเภอพรหมคีรี 2
เว็บไซต์ปศุสัตว์อำเภอ
ปศุสตว์อำเภอสิชล
ปศุสัตว์อำเภอทุ่งใหญ่
ปศุสัตว์อำเภอนบพิตำ
ปศุสัตว์อำเภอปากพนัง
ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
ปศุสัตว์อำเภอแม่ฟ้าหลวง
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
อำเภอดอดคอม
ศูนย์ปศุสัตว์อินทรีย์
พรบ/กฎกระทรวง กรมปศุสัตว์
ระบบการทำเครื่องหมายและขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ
กองนิติการ
คำแนะนำการเลี้ยงสัตว์
กฏ,ระเบียบพนักงานราชการ
คนไทย-ควรรู้
เว็บไซต์มหาวิทยาลัย
ม.เกษตรศาสตร์
ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
ธรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อบต.บ้านเพิง
อบต.ทอนหงส์
อบต.นาเรียง
อบต.บ้านเกาะ
เทศบาลตำบลพรหมคีรี
อบต.อินคีรี
เทศบาลตำบลทอนหงส์
เทศบาลตำบลพรหมโลก
เว็บไซต์ในจังหวัดนครศรีฯ
จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี
บันเทิง
ใบปิดหนัง มิตร ชัยบัญชา
คลังบทความของบล็อก
►
2018
(1)
►
กุมภาพันธ์ 4 - กุมภาพันธ์ 11
(1)
►
2017
(1)
►
พฤศจิกายน 5 - พฤศจิกายน 12
(1)
►
2015
(4)
►
ตุลาคม 4 - ตุลาคม 11
(1)
►
กรกฎาคม 5 - กรกฎาคม 12
(2)
►
มกราคม 25 - กุมภาพันธ์ 1
(1)
►
2014
(2)
►
มีนาคม 2 - มีนาคม 9
(2)
►
2013
(2)
►
กุมภาพันธ์ 17 - กุมภาพันธ์ 24
(1)
►
กุมภาพันธ์ 10 - กุมภาพันธ์ 17
(1)
►
2012
(8)
►
ธันวาคม 9 - ธันวาคม 16
(2)
►
พฤษภาคม 6 - พฤษภาคม 13
(1)
►
เมษายน 29 - พฤษภาคม 6
(1)
►
เมษายน 22 - เมษายน 29
(1)
►
มกราคม 29 - กุมภาพันธ์ 5
(2)
►
มกราคม 1 - มกราคม 8
(1)
▼
2011
(18)
►
ธันวาคม 4 - ธันวาคม 11
(1)
►
พฤศจิกายน 27 - ธันวาคม 4
(1)
►
ตุลาคม 23 - ตุลาคม 30
(1)
►
ตุลาคม 16 - ตุลาคม 23
(1)
►
สิงหาคม 28 - กันยายน 4
(1)
►
สิงหาคม 21 - สิงหาคม 28
(1)
▼
สิงหาคม 7 - สิงหาคม 14
(1)
12 สิงหา 2554
►
กรกฎาคม 31 - สิงหาคม 7
(1)
►
เมษายน 24 - พฤษภาคม 1
(2)
►
เมษายน 3 - เมษายน 10
(1)
►
มีนาคม 27 - เมษายน 3
(4)
►
กุมภาพันธ์ 27 - มีนาคม 6
(2)
►
มกราคม 16 - มกราคม 23
(1)
►
2010
(9)
►
ธันวาคม 5 - ธันวาคม 12
(1)
►
พฤศจิกายน 7 - พฤศจิกายน 14
(1)
►
ตุลาคม 17 - ตุลาคม 24
(1)
►
กันยายน 5 - กันยายน 12
(1)
►
กรกฎาคม 25 - สิงหาคม 1
(2)
►
พฤษภาคม 30 - มิถุนายน 6
(1)
►
เมษายน 4 - เมษายน 11
(1)
►
กุมภาพันธ์ 14 - กุมภาพันธ์ 21
(1)
►
2009
(21)
►
พฤศจิกายน 15 - พฤศจิกายน 22
(1)
►
ตุลาคม 4 - ตุลาคม 11
(2)
►
กันยายน 27 - ตุลาคม 4
(1)
►
กันยายน 13 - กันยายน 20
(1)
►
สิงหาคม 2 - สิงหาคม 9
(2)
►
กรกฎาคม 26 - สิงหาคม 2
(1)
►
กรกฎาคม 12 - กรกฎาคม 19
(2)
►
พฤษภาคม 3 - พฤษภาคม 10
(1)
►
เมษายน 26 - พฤษภาคม 3
(1)
►
เมษายน 19 - เมษายน 26
(2)
►
มีนาคม 22 - มีนาคม 29
(1)
►
มีนาคม 15 - มีนาคม 22
(1)
►
มีนาคม 8 - มีนาคม 15
(1)
►
กุมภาพันธ์ 8 - กุมภาพันธ์ 15
(2)
►
มกราคม 18 - มกราคม 25
(2)
ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานราชการนั้น เป็นงานส่วนรวม มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ของบ้านเมือง และประชาชนทุกคน ผู้ปฎิบัติบริหารงานราชการ จึงต้องคำนึงถึงความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือประโยชน์เฉพาะตนให้มากนัก มิฉะนั้นงานในหน้าที่จะบกพร่อง เกิดเป็นผลเสียหายแก่ตน แก่งานส่วนรวมของชาติได้ ขอให้ถือว่า การทำงานในหน้าที่ได้สำเร็จสมบูรณ์ เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อันประเสริฐสุด เพราะจะทำให้ประเทศชาติและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง.
อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย
วันนี้ ขึ้นวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตก ห่วงใย แก่การเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี
ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา และการประพฤติตัว ปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้จึงขอให้ชาวไทยทุกคนได้ตั้งจิต ตั้งใจให้เที่ยงตรง แน่วแน่ ที่จะประพฤติตัว ปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัว และปัญญารู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือจะคิดจะทำสิ่งใดต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดีให้ถูกต้อง ข้อสำคัญจะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้นเป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือเป็นเป้าหมายหลักในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขความสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้นทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จสมประสงค์ตลอดศกหน้านี้ โดยทั่วกัน”
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทาน
เพื่อให้ประชาชนพึ่งตนเอง ใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย
คุณสมบัติเศรษฐกิจพอเพียง
-รู้จักพึ่งตนเอง
-ดำรงชีวิตอย่างมีอิสรภาพ
-สามารถบริหารจัดการ รู้จักคิด
-มีความขยัน อดทน
-มีความสามัคคี
-มีการศึกษาข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการปฎิบัติงาน
-รุ้จักการอยู่ร่วมกัน แลละช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
-รู้จักพัฒนาตนเอง
-นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
เศรษฐกิจแบบพอเพียง
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้" .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการเกษตรได้ และค้าขายได้.... " ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximization of Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนการบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้นในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคมการผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลงทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบตรัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมี
พอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 9
"ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การจะทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ "
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"...เศรษฐกิจพอเพียงก็หมายความว่า
ประหยัดแต่ไม่ใช่ขี้เหนียว
ทำอะไรด้วยความอะลุ่มอะหล่วย
ทำอะไรด้วยเหตุผล
จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง
แล้วทุกคนจะมีความสุข แต่พอเพียง......"
....พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2543
.........................................
".....การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น
จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูลสุข
ของผู้ประหยัดเองและครอบครัว
ช่วยป้องกันความขลาดแคลนในวันข้างหน้า..."
...เนื่องในวโรกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2502...
..........................................
".....เมื่อ 40 กว่าปี มีผู้หนึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยมาขอเงิน...ที่จริงเคยได้ให้เงินเขาเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาบอกว่าไม่พอ เขาก็ขอยืมเงิน อขกู้เงิน ก็บอกเอาให้เขา แต่ขอให้เขาทำบัญชี บัญชีรายรับ บัญชีรายจ่าย รายรับคือเงินเดือนของเขา และรายรับที่อุดหนุนเขา
ส่วนรายจ่ายก็เป็นของที่ใช้ในครอบครัว
....ทีหลังเขาทำบัญชีมา เขาไม่ขาดทุนแล้ว
เขาสามารถที่จะมีเงินพอใช้เพราะว่าบอกเขาว่า
เรามีเงินเดือนเท่าไหร่ จะต้องใช้ภายในเงินเดือนของเรา..."
ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต
วันที่ 4 ธันวาคม 2540
..................................
.....ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี.....
มนัส ชุมทอง คัดลอก/เขียนข่าว
มงคล 38 ประการ
มงคลที่ 1 อย่าคบพาล
เพราะคบคนพาลจะมีแต่ความเสื่อม
มงคลที่ 2 สมาคมด้วยบัณฑิต
จะพบแต่ความเจริญในชีวิต
มงคลที่ 3 การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
เช่น บิดา มารดา เป็นบุคคลที่บุตรธิดาต้องเคารพบูชา
มงคลที่ 4 การอยู่ในประเทศอันสมควร
หมายถึงประเทศที่เหมาะแก่การหากิน เหมาะแก่การค้าขาย ทำไร่ไถนา เป็นต้น
มงคลที่ 5 เป็นผู้ที่เคยทำบุญมาก่อน
คือ การกระทำความดี เป็นต้น ผู้ได้สะสมความดีไว้ก่อนมามาก
มงคลที่ 6 ให้ตั้งตนไว้ชอบ
ทั้งทางกาย วาจา และใจ
มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
คือ เป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมาก ชีวิตจะก้าวหน้าเมื่อเราแสวงหาความรู้
มงคลที่ 8 เชี่ยวชาญในศิลปะวิชา
มงคลที่ 9 เป็นผู้อยู่ในระเบียบวินัย
มงคลที่ 10 เป็นผู้พูดด้วยวาจาสุภาษิต
คือ กล่าวแต่วาจาอ่อนหวาน สมานสามัคคี และมีประโยชน์
มงคลที่ 11 อุปัฏฐากมารดาบิดา
คือ บำรุงบิดา มารดา ผู้ที่เลี้ยงดูบิดามารดาจะมีความรุ่งเรือง
มงคลที่ 12 ให้สงเคราะห์บุตร
ห้ามมิให้ทำชั่ว ให้กระทำแต่ความดี ให้ศึกษาศิลปะวิยา เป็นต้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นมงคลอันสูงสุด
มงคลที่ 13 สงเคราะห์ภรรยา
ภรรยาก็ต้องสงเคราะห์สามีด้วย ต้องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
มงคลที่ 14 การทำงานไม่ให้คั่งค้าง
เพราะผัดวันประกันพรุ่ง เป็นสาเหตุของความเสื่อม
มงคลที่ 15 การให้ทาน
มงคลที่ 16 ประพฤติธรรมทางกายวาจาใจ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้
มงคลที่ 17 การสงเคราะห์ญาติ
ทั้งฝ่ายบิดา มารดาในเวลาอันควร
มงคลที่ 18 การประกอบการงานที่ไม่มีโทษ
คือ การประกอบการงานที่สุจริต
มงคลที่ 19 การงดเว้นจากบาปทั้งปวง
การตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 เป็นต้น
มงคลที่ 20 การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
อันจักก่อให้เกิดโทษด้วยประการต่างๆ
มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในการประพฤติธรรม
หมายความว่า ต้องมีความรอบคอบ มีความระมัดระวัง ไม่เป็นคนลืมสติ เพราะความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย
มงคลที่ 22 การรู้จักสัมมาคารวะ
มีความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่ล่วงเกิน
มงคลที่ 23 เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
พอใจในสิ่งที่เรามี เราได้ เป็นอยู่อย่างสมตามฐานะ มักน้อย
มงคลที่ 25 มีความกตัญญู
รู้อุปการะที่ท่านทำให้ เช่น บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เป็นต้น เพราะเป็นเครื่องหมายของคนดี
มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
เช่น วันพระ เป็นต้น
มงคลที่ 27 ขันติ เป็นผู้มีความอดทน
ต่อความลำบาก ต่อทุกขเวทนา ต่ออำนาจของกิเลส เป็นต้น
มงคลที่ 28 เป็นผู้มีความสงบเสงี่ยม
มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ ผู้มีความสงบ
ทั้งที่เห็นด้วยตา ด้วยใจ ด้วยปัญญา
มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
พูดแต่เรื่องที่ดี ทำให้ได้แง่คิดใหม่ๆ
มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
มีความเพียรเผากิเลสให้เบาบางลงไป
มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อยกระดับจิตใจให้สูงส่งยิ่งขึ้น
มงคลที่ 33 การเห็นแจ้งในอริยสัจ 4
ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
มงคลที่ 34 การทำนิพพานให้แจ้ง
เป็นความดับสนิทแห่งกิเลส และกองทุกข์ทั้งปวง
มงคลที่ 35 มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม
คือ เรื่องราวที่มีอยู่ประจำโลก ได้แก่ การได้ลาภ เสื่อมลาภ การได้ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุขและทุกข์
มงคลที่ 36 ความเป็นผู้มีจิตไม่โศกเศร้า
มงคลที่ 37 ความไม่มีกิเลสในใจ
มงคลที่ 38 เป็นผู้มีจิตเกษม
คือ มีจิตใจที่ปราศจากเครื่องร้อยรัด มีจิตสงบจากสิ่งผูกมัดโดยประการทั้งปวง
คติสอนใจ
แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน
ต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืน
ก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำ
คนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้
ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืนทั้งวัน
ก็ยังโง่เท่าเดิม
ว วชิรเมธี
...........................................
ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้
ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ
ขอบคุณความล้มเหลว ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ
ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม
............................
ขอบคุณความริษยา ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ
ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้จักครูที่ชื่อประสบการณ์
ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นมาใหม่
ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ
..................................
ขอบคุณมหกรรมคอรัปชั่น ที่ทำให้เราอยากสร้างสรรค์การเมืองใหม่ ขอบคุณความป่วยไข้ ที่ทำให้เราตั้งใจดูแลสุขภาพ
ขอบคุณความทุกข์ที่ ทำให้เรารู้ว่าความสุขมีค่าแค่ไหน \.........................
ขอบคุณความพลัดพราก ที่ทำให้เราสละจากความยึดมั่น ถือมั่น
ขอบคุณเพลิงกิเลส ที่ทำให้เรามีเหตุอยากถึงพระนิพพาน
ขอบคุณความตาย ที่ทำให้ฉากสุดท้ายของชีวิตสมบูรณ์แบบ
เจริญพร ว วชิรเมธี
..........................................
ขอบคุณความไม่มี ที่ทำให้เราลุกขึ้นสู้
ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เรามุมานะ
ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้เราฉลาดขึ้นกว่าเดิม
ขอบคุณความไม่รู้ ที่จะให้รู้จักครูชื่อประสบการณ์
ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้มีสติลุกขึ้นมาใหม่
ขอบคุณความขาดสติ ที่ทำให้เรามีความยั้งคิด
ขอบคุณความป่วยไข้ ที่ทำให้เรารู้จักการดูแลสุขถาพ
ขอบคุณความผิดพลาด ทำให้เรามีสติยึดมั่น
ขอบคุณความตาย ที่ทำให้ชีวิตสมบูรณ์แบบ
.................................................
หลักธรรมในการดำรงชีวิต
พรหมวิหาร4:-
เมตตา-ช่วยเหลือผู้อื่นให้เป็นสุข
กรุณา-ช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
มุทิตา-ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข
อุเบกขา-การวางเฉยเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ ไม่ซ้ำเติม
สังคหวัตถุ4
ทาน
-คือรู้จักการให้ทานนอกจากจะเป็นการฝึก/พัฒนาตนเองไม่ให้เป็นคนเห็นแก่ตัวแล้วยังเป็นการชวยทำให้คนอื่นมีสุขและคลาทุกข์ได้อีกด้วย มีข้อสังเกตให้คิดว่า “การให้คือการได้” หรือ “ขาดทุนคือกำไร” ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือคิดเป็นคิดถูกวิธี เราก็จะมีความสุขจากการให้เสมอ อนึ่งสังคมส่วนรวมจะอยู่ได้ก็ด้วยการที่คนในสังคมมีจิตใจช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน เช่นคนมีมากก็แบ่งให้คนมีน้อยคนเก่งมากก็รู้จักสอนรู้จักฝึกให้คนเก่งน้อย มิใช่ใช้ความเก่งของตนเพื่อเล่ห์เหลี่ยม ตักตวง เอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือดูถูกดูแคลนคนอื่นที่ด้อยกว่า
ปิยะวาจา-
รู้จักการพูดดีมีประโยชน์หมายถึง การรู้จักใช้วาจาคำพูดที่ไพเราะเสนาะหู จะพูดจะจากับใคร เมื่อใดและที่ไหนก็เป็นคำพูดที่จริงใจตรงไปตรงมามีความสุภาพอ่อนโยน ทำให้เกิดมิตรไมตรี ผู้ได้รับฟังก็มีความรู้สึกประทับใจ พึงพอใจคล้อยตามและสามารถนำไปคิดพิจารณาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
อัตถจริยา-รู้จักทำตนให้เป็นคนมีคุณประโยชน์ต่อคนอื่นต่อชุมชนสังคมประเทศชาติ คนที่มีจิตสำนึกในการทำตนให้เป็นประโยชน์ เจาจะรู้จักวางแผนจัดแบ่งเวลาของตนที่จะร่วมมือร่วมใจและเต็มใจในการช่วยเหลือคนอื่น และเขายังจะชักชวนส่งเสริมให้คนอื่นเกิดการเรียนรู้ที่จะเสียสละช่วยเหลือสังคมส่วนรวม ตามแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมของจริยธรรมและคุณธรรมอีกด้วย
สมานัตตา-
รู้จักวางตนให้เหมาะสม มีความเสมอต้นเสมอปลายและร่วมทุกข์ร่วมสุขคือการวางตนได้อย่างเหมาะสม กลมกลืนเป็นอย่างดีทั้งในหมู่ชนกาละเวลา สถานที่ วัฒนธรรมและหิริ คือความละอายต่อความชั่วโอตัปปะ คือความเกรงกลัวบาป
พุทธโอวาท
ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ เอหิภิกขุ อุปสัมปทา 1,250 รูป มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายพระพุทธเจ้าได้ทรงให้โอวาทปาฏิโมกข์ มีใจความสำคัญ 3 ข้อคือการ ไม่ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และการทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
1.การไมทำชั่ว
ทางกาย-ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรมานกักขังสัตวไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม ไมทำลายวัตถุสิ่งของอันเป็นที่รักของผู้อื่น
ทางวาจา-ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดโกหก
ทางใจ-ไม่คิดอยากได้ของคนอื่น ไม่คิดพยาบาทปองร้าย คือคิดแก้แค้น ไม่เห็นผิดเป็นชอบ ไม่หลงงมงายกับความคิดที่ผิด
2.ให้ทำความดี
ทางกาย-ให้มีความเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ถือเอาสิ่งของอื่นมาเป็นของตนมความสำรวมกาย
ทางวาจา-ให้พูแต่ความจริง พูดแต่คำที่ช่วยส่งเสริมความสามัคคี พูดแต่ตำที่อ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบ และพูดแต่คำที่มีสารประโยชน์
ทางใจ-พอใจแต่ของที่ได้มาโดยชอบธรรม แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย มีความสุข มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม
3.การทำจิตใจให้แจ่มใส
คือการทำจิตใจให้หมดจากเรื่องเศร้าหมองหมายถึงการทำใจให้ปราศจากสิ่งต่อไปนี้
ความไม่โลภ คือหมั่นฝึกอบราจิตใจตนเองให้สามารถระงับความอยากได้ คนที่ไม่อยากได้ของของผู้อื่น ย่อมจะไม่กระทำความชั่วทั้งปวง
ความไม่โกรธ ไม่ประทาร้ายคือพยายามฝึกจิตใจของตนให้เป็นคนที่มีเมตตา ปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นทีความสุขเบียดเบียนกัน ผู้ปราศจากโกรธ ย่อมไม่ทำร้ายผู้อื่น มีด่าคำหยาบ และไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
ความไม่หลง รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้บาป บุญคุณโทษ ผู้ปราศจากความหลงย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก มีความเจริญก้าวหน้าไม่มัวเมาอยู่กับอบายมุข
ธรรม5
-เมตตากรุณา
-สัมมาอาชีวะ
-รักครอบครัว
-ซื่อสัตย์
-มีสติสัมปชัญญะ
ฆราวาส4
-สัจจะ-
-ธรรมมะ
-ขันติ
-จาคะ
ฆราวาสธรรม ฆราวาสธรรมหรือธรรมสำหรับชีวิตครองเรือน ๔ ประการ
๑.สัจจะ
ความซื่อสัตย์จริงใจต่อกันเป็นหลักสำคัญที่จะให้เกิดความไว้วางใจและไมตรีจิตสนิทต่อกันขาดสัจจะเมื่อใดย่อมเป็นเหตุให้เกิดความหวาดระแวงแคลงใจกันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความร้าวฉาน ซึ่งยากนักที่จะประสานให้คืนดีได้ดังเดิม
๒.ทมะ
การรู้จักบังคับควบคุมอารมณ์ข่มใจระงับความรู้สึกต่อเหตุบกพร่องของกันและกัน รู้จักฝึกฝนปรับปรุงตน แก้ไขข้อบกพร่องปรับนิสัยและอัธยาศัยให้กลมกลืนประสานเข้าหากันได้ ไม่เป็นคนดื้อด้านเอาแต่ใจและอารมณ์ของตนคนที่ขาดธรรมข้อนี้ย่อมปล่อยให้ข้อแตกต่างปลีกย่อยทางอุปนิสัยและการอบรมกลายเป็นเหตุแตกแยกสามัคคีใหญ่โตและถ้าไม่สามารถปรับตนเข้าหากันได้ก็เป็นอันต้องทำลายชีวิตคู่ครองแยกทางขาดจากกัน
๓.ขันติ
ความอดทนอดกลั้นต่อความหนักและความร้ายแรงทั้งหลายชีวิตของผู้อยู่ร่วมกัน นอกจากมีข้อแตกต่างขัดแย้งทางอุปนิสัยการอบรมและความต้องการบางอย่าง ซึ่งจะต้องหาทางปรับปรุงเข้าหากันแล้วบางรายอาจจะมีเหตุล่วงเกินรุนแรง แสดงออกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งอาจะเป็นถ้อยคำหรือกิริยาอาการจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องรู้จักอดกลั้นระงับใจ ไม่ก่อเหตุให้เรื่องลุกลามกว้างขยายต่อไปความร้ายจึงจะระงับลงไป นอกจากนี้ยังจะต้องมีความอดทนต่อความลำบากตรากตรำและเรื่องหนักใจต่างๆในการประกอบการงานอาชีพเป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยพิบัติความตกต่ำคับขันไม่ตีโพยตีพาย แต่มีสติอดกลั้นคิดอุบายใช้ปัญญาหาทางแก้ไขเหตุการณ์ให้ลุล่วงไปด้วยดี ชีวิตของคู่ครองที่ขาดความอดทน ย่อมไม่อาจประคับประคองพากันให้รอดพ้นเหตุร้ายต่างๆอันเป็นประดุจมรสุมแห่งชีวิตไปได้
๔.จาคะ
ความเสียสละความเผื่อแผ่ แบ่งปันตลอดถึงความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกันชีวิตบุคคลที่จะมีความสุข จะต้องรู้จักความเป็นผู้ให้ด้วย มิใช่คอยจ้องแต่จะเป็นผู้รับเอาฝ่ายเดียวการให้ในที่นี้ มิใช่หมายแต่เพียงการเผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของอันเป็นเรื่องที่มองเห็นและเข้าใจได้ง่ายๆเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่กันการแสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ตลอดจนการเสียสละความพอใจและความสุขส่วนตนได้ เช่น นคราวที่คู่ครองประสบความทุกข์ความเจ็บไข้หรือมีธุระกิจใหญ่เป็นต้น ก็เสียสละความสุขความพอใจของตน ขวนขวายช่วยเหลือ เอาใจใส่ดูแล เป็นที่พึ่งอาศัยเป็นกำลังส่งเสริมหรือช่วยให้กำลังใจได้โดยประการใดประการหนึ่งตามความเหมาะสมรวมความว่าเป็นผู้จิตใจกว้างขวางเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละไม่คับแคบเห็นแก่ตัวชีวิตครอบครัวที่ขาดจาคะก็คล้ายการลงทุนที่ปราศจากผลกำไรมาเพิ่มเติม ส่วนที่มีมาแต่เดิมก็คงที่หรือค่อยร่อยหรอพร่องไปหรือเหมือนต้นไม้ที่มิได้รับการบำรุง ก็มีแต่อับเฉาร่วงโรยไม่มีความสดชื่นงอกงาม ธรรม ๔ ประการคือสัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะดังกล่าวมานี้มิใช่ประสงค์เป็นข้อปฏิบัติจำกัดเฉพาะในระหว่างคู่ครองเพียง ๒ คนเท่านั้นแต่มุ่งหมายให้ใช้ทั่วไปในชีวิตการครองเรือนทั้งหมด โดยยึดถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานของจิตใจ ในการที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับคนทั้งหลายที่จะอยู่ร่วมหรือติดต่อเกี่ยวข้องกันให้เหมาะสมตามฐานะนั้นๆเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ชีวิตของตนเองและแก่ชีวิตของคนอื่นๆในสังคม
การใช้ตำลึงรักษาไก่ชน
การใช้ตำลึงรักษาไก่ชน
โรคตาแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคที่เรีย ไก่มักจะเป็นกันมากช่วงเปลี่ยนฤดู สมุนไพรที่นำมาปรับใช้ก็คือ ผักตำลึงที่ขึ้นตามรั้วบ้านที่เรานำมาทำแกงต่างๆนั่นเองวิธีนำมาใช้คือ ใช้มีดคมๆ ตัดเถาของตำลึงให้มีน้ำจากเถาตำลึงไหลออกมานำไปหยดลงในตาไก่ที่มีการอักเสบแดง (คนก็ใช้ได้แบบเดียวกัน) หยดบ่อยๆอาการก็จะทุเลาลงและหายในที่สุด ง่ายๆแค่นี้เองครับเขียนสั้นเกินขอต่อสรพพคุณอื่นๆของตำลึงเพิ่มเติมสรรพคุณ ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็นใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย
ต้น : กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน
เปลือกราก : เป็นยาถ่าย ยาระบาย
เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน
ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด
ผล : แก้ฝีแดง
ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน
หมายเหตุใช้เป็นรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กแล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย
อันนี้ผู้เขียนทดลองมาแล้วโดนตัวบุ้งคัน ผู้เฒ่าที่เข้าอบรมแนะนำให้ดีมาก จริงๆเขาแนะนำอีกอย่างคือรังหมาล้าแต่ผู้เขียนเลือกตำลึงก็ใช้ได้ดี
คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด
เริ่มสวด นโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
1.ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
2.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
3.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
4.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
5.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
6.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
7.กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
8.ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
9.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
10.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
11.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
12.ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
15.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
16.สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
...........................
"ลูกเอย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...!
"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ...ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."
ผู้ติดตาม
มนัส ชุมทอง
ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี
รางวัลความจน
ความจนคือ ความจริง ใช่สิ่งผิด
เพราะชีวิต ใช่เลือกได้ ตามใจหมาย
เกิดมาล้วน ต่างกรรม ทั้งหญิงชาย
แม้ทุกข์กาย ไม่ท้อ ขอแรงใจ
ความจนจริง เงินตรา ใช่ค่าวัด
หากประหยัด สัตย์ซื่อ คือสดใส
ขยันทำ คิดตาม แก้กันไป
ชีวิตใหม่ เริ่มต้น บนทางดี
ความจนจึง ทำให้ ได้เห็นทุกข์
ได้สนุกแก้ ปัญหา น่าหน่ายหนี
ล่วงพ้นได้ กำไร คืนชีวี
ความรู้มี เกิดได้ แก้ไขจน
ความจนคือ หลักประกัน อันศักดิ์สิทธิ์
รู้จักคิด เห็นคุณค่า น่าฉงน
จะกินใช้ นุ่งห่ม ก็เจียมตน
เพราะว่าจน จึงระวังไ ม่พลั้งเพลิน
ความจนคือ ชีวิต ทีติดดิน
เพียงรู้กิน รู้ใช้ ไม่ขัดเขิน
งบรายได้ รายจ่าย มิให้เกิน
ไม่เจริญ แน่นอน หากผ่อนเอา
จนสิ่งใด อย่าให้ จนความคิด
ผลผลิต พัฒนา อย่าโง่เขลา
ทำให้จริง มุ่งมั่น คอยขัดเกลา
ขอเพียงเข้า ใจตน จนแหละดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น